XSPACE: Multiple Possibilities of Space นิทรรศการศิลปะที่ว่าด้วยการบรรจบกันของสื่อและศิลป์หลายแขนง2 - Ratchadamnoen Contemporary Art Center
Facebook Logo

XSPACE: Multiple Possibilities of Space นิทรรศการศิลปะที่ว่าด้วยการบรรจบกันของสื่อและศิลป์หลายแขนง2

XSPACE: Multiple Possibilities of Space นิทรรศการศิลปะที่ว่าด้วยการบรรจบกันของสื่อและศิลป์หลายแขนง2

เราอาจต้องขอเตือนคุณสักนิดว่าบทความศิลปะที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ กำลังจะพูดถึงและมีภาพสิ่งที่ไม่น่าอภิรมย์นัก อาจไม่ใช่ศิลปะที่คุณคุ้นเคยหรือคิดว่ามันน่าจะเป็น

เรากำลังพูดถึง Abject Art ศิลปะที่ใช้สิ่งน่ารังเกียจเป็นวัสดุ (material) หรือหากไม่ได้ใช้สิ่งนั้นเป็นวัสดุในผลงาน วัสดุและ/หรือรูปทรงที่ใช้ก็ชวนนึกถึงสิ่งที่น่ารังเกียจเหล่านั้น หากพูดถึงสิ่งที่น่ารังเกียจ ที่รวมถึงความรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่าเกลียด ไม่น่าอภิรมย์ ไม่อยากเข้าใกล้ไปจนถึงน่าขยะแขยงและชวนให้คลื่นไส้ กลุ่มที่เห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด คือของเหลวในร่างกาย (body fluids) สารคัดหลั่ง (secretion) และสิ่งขับถ่าย (excretion)

แต่ไม่ใช่เพียงแค่นั้น Abject Art ยังหมายรวมถึงสิ่งที่ลึกซึ้งขึ้นอย่างสิ่งทำให้หวนนึกถึงครรภ์ของมารดาที่เราเคยอาศัยอยู่ สิ่งที่ไม่เป็นรูปทรงชัดเจน (formless) ดูคลุมเครือ ร่างกายที่ถูกแยกออกเป็นส่วนๆ เห็นอวัยวะข้างใน โดยสรุปแล้ว สิ่งที่มักทำให้เรารู้สึกรังเกียจคือสิ่งที่อยู่ข้างในแต่กลายเป็นอยู่ข้างนอก สิ่งที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเราแต่แล้วก็แยกออกจากเรา สิ่งที่พอหลุดออกไปจากตัวเราก็กลายเป็นสิ่งน่ารังเกียจที่ต้องกำจัดทิ้งไปให้ไกลตา

แนวคิดสำคัญที่ใช้อธิบายและเป็นแรงบันดาลใจให้กับงานศิลปะลักษณะนี้ได้อย่างชัดเจนจนกลายเป็นชื่อเรียกงานศิลปะประเภทนี้ คือ Abjection ที่ จูเลีย คริสเตวา (Julia Kristeva) เสนอใน The Powers Of Horror: An Essay On Abjection ที่ตีพิมพ์ออกมาในปี 1982 โดย ผศ. ดร.ชุติมา ประกาศวุฒิสาร อาจารย์ประจำสาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายในวารสารสังคมศาสตร์ไว้ว่า

เราอาจต้องขอเตือนคุณสักนิดว่าบทความศิลปะที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ กำลังจะพูดถึงและมีภาพสิ่งที่ไม่น่าอภิรมย์นัก อาจไม่ใช่ศิลปะที่คุณคุ้นเคยหรือคิดว่ามันน่าจะเป็น

เรากำลังพูดถึง Abject Art ศิลปะที่ใช้สิ่งน่ารังเกียจเป็นวัสดุ (material) หรือหากไม่ได้ใช้สิ่งนั้นเป็นวัสดุในผลงาน วัสดุและ/หรือรูปทรงที่ใช้ก็ชวนนึกถึงสิ่งที่น่ารังเกียจเหล่านั้น หากพูดถึงสิ่งที่น่ารังเกียจ ที่รวมถึงความรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่าเกลียด ไม่น่าอภิรมย์ ไม่อยากเข้าใกล้ไปจนถึงน่าขยะแขยงและชวนให้คลื่นไส้ กลุ่มที่เห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด คือของเหลวในร่างกาย (body fluids) สารคัดหลั่ง (secretion) และสิ่งขับถ่าย (excretion)

แต่ไม่ใช่เพียงแค่นั้น Abject Art ยังหมายรวมถึงสิ่งที่ลึกซึ้งขึ้นอย่างสิ่งทำให้หวนนึกถึงครรภ์ของมารดาที่เราเคยอาศัยอยู่ สิ่งที่ไม่เป็นรูปทรงชัดเจน (formless) ดูคลุมเครือ ร่างกายที่ถูกแยกออกเป็นส่วนๆ เห็นอวัยวะข้างใน โดยสรุปแล้ว สิ่งที่มักทำให้เรารู้สึกรังเกียจคือสิ่งที่อยู่ข้างในแต่กลายเป็นอยู่ข้างนอก สิ่งที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเราแต่แล้วก็แยกออกจากเรา สิ่งที่พอหลุดออกไปจากตัวเราก็กลายเป็นสิ่งน่ารังเกียจที่ต้องกำจัดทิ้งไปให้ไกลตา

แนวคิดสำคัญที่ใช้อธิบายและเป็นแรงบันดาลใจให้กับงานศิลปะลักษณะนี้ได้อย่างชัดเจนจนกลายเป็นชื่อเรียกงานศิลปะประเภทนี้ คือ Abjection ที่ จูเลีย คริสเตวา (Julia Kristeva) เสนอใน The Powers Of Horror: An Essay On Abjection ที่ตีพิมพ์ออกมาในปี 1982 โดย ผศ. ดร.ชุติมา ประกาศวุฒิสาร อาจารย์ประจำสาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายในวารสารสังคมศาสตร์ไว้ว่า



Address

84 Ratchadamnoen Klang Avenue, Bawonniwet
Sub-District, Phra Nakhon District,
Bangkok 10200

84 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

Call Us

Phone. 0 2224 8030 ext. 202
Fax. 0 2224 8031