การประกวดออกแบบระดับเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 5: การออกแบบตราสัญลักษณ์สําหรับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ในปี พ.ศ. 2565 ขอเชิญชวนเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2554

การประกวดออกแบบระดับเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 5: การออกแบบตราสัญลักษณ์สําหรับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ในปี พ.ศ. 2565 ขอเชิญชวนเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2554

#RcacPR #ประชาสัมพันธ์

โอกาสของนักออกแบบรุ่นใหม่มาถึงแล้ว!!!
#APEC2022THAILAND

การประกวดออกแบบระดับเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 5: การออกแบบตราสัญลักษณ์สําหรับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ในปี พ.ศ. 2565

กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และเครือข่ายมหาวิทยาลัย
ขอเชิญชวนเยาวชนไทยอายุไม่เกิน 25 ปี
ส่งผลงานออกแบบเข้าร่วมประกวดชิงเงินรางวัลรวม 450,000 บาท
ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2554

ติดตามข่าวสารการประกวด หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง
https://www.facebook.com/NYDAWARDS

ดาวน์โหลดเอกสารการประกวดที่นี่
https://www.mediafire.com/file/pythgnyyi53bfvx/NYD5.pdf/file

ขอขอบคุณ สำนักงานศิลปวัฒธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

#การประกวด #ออกแบบตราสัญลักษณ์
#ตราสัญลักษณ์เอเปค #เอเปค #เอเปคของไทย #เจ้าภาพเอเปค #NYDAWARDS
#สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

#Rcacbkk #Rcac #Rcac84 #84rcac #Ratchadamnoencontemporaryartcenter
#หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

#RcacPR #ประชาสัมพันธ์

การประกวดออกแบบระดับเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 5:
การออกแบบตราสัญลักษณ์สําหรับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ในปี พ.ศ. 2565

1. หลักการและเหตุผล
กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปค เป็นการรวมตัวระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาค และเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจที่ประเทศสมาชิกสนใจการดำเนินงานยึดหลักฉันทามติ ความเท่าเทียมกัน และผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย
ขณะนี้เอเปคมีสมาชิกรวม 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้จีน
ฮ่องกง นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย จีนไทเป ชิลี
เม็กซิโก ปาปัวนิวกินีเปรู รัสเซีย และเวียดนาม
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคี
สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก ด้วยการลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า การค้าบริการ และการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก โดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ขององค์กรการค้าโลก นอกจากนี้ยังส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเงินการคลังในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2565
ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (AsiaPacific Economic Cooperation : APEC) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ต่อจากนิวซีแลนด์ตามระบบ
การหมุนเวียนของเขตเศรษฐกิจสมาชิก โดยเขตเศรษฐกิจเจ้าภาพจะกำหนดตราสัญลักษณ์ (Logo) ที่สะท้อนประเด็นสำคัญที่ต้องการผลักดัน (priorities) สาขาความร่วมมือที่สำคัญ (key areas) และแนวคิดหลัก (Theme) ซึ่งสื่อถึงเป้าหมายสำคัญที่ต้องการผลักดันในช่วงการเป็นเจ้าภาพเพื่อใช้เป็นตราสัญลักษณ์หลักสำหรับการประชุมและเอกสารเผยแพร่ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดปี

กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา และ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
จึงได้จัดการประกวดออกแบบระดับเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ขึ้น เพื่อคัดสรรผลงานออกแบบตราสัญลักษณ์ สำหรับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี พ.ศ. 2565 โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องสะท้อนประเด็นสำคัญที่ต้องการผลักดัน (priorities) สาขาความร่วมมือที่สำคัญ (key areas)
และแนวคิดหลัก (theme) ที่ไทย มุ่งเน้นในช่วงการเป็นเจ้าภาพในปี พ.ศ. 2565 มีความสวยงาม ทันสมัย มีเอกลักษณ์ สื่อความหมายถึงความเป็นไทยและความร่วมมือของประเทศสมาชิก

2. คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
เยาวชนไทย อายุไม่เกิน 25 ปี (อายุครบ 25 ปีก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2564)
โดยสามารถสมัครเป็นแบบเดี่ยวหรือแบบคู่

3. โจทย์การประกวด
ออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี พ.ศ. 2565 โดยมีข้อกำหนดดังนี้
1. ตราสัญลักษณ์ ประกอบด้วยภาพสัญลักษณ์และตัวอักษร คำว่า APEC 2022 Thailand
2. ตราสัญลักษณ์จะต้องสื่อสารแนวคิดโดยภาพรวม ดังนี้
ประเด็นสำคัญที่ไทยต้องการผลักดัน (Priorities) มี 3 ด้าน ได้แก่
(1) การอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ
(2) การฟื้นฟูความเชื่อมโยงในเอเปค โดยเฉพาะการเดินทางและการท่องเที่ยว และ
(3) การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
สาขาที่ไทยควรให้ความสำคัญ (Key Areas) มี 5 เรื่อง ได้แก่
(1) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน (2) การก้าวไปสู่สังคมดิจิทัล (3) สุขภาพและสุขภาวะที่ดี (well-being) (4) ความมั่นคงทางอาหารและการเกษตร และ (5) การเจริญเติบโต
อย่างครอบคลุม ยั่งยืนและมีความรับผิดชอบ
3. ตราสัญลักษณ์ต้องมีรูปแบบที่ทันสมัย สะท้อนความเป็นผู้นำและความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความเป็นไทย
4. การออกแบบใช้สีได้ไม่เกิน 4 สีโดยคำนึงถึงความยืดหยุ่นในการใช้งานในสื่อที่หลากหลาย เช่น การทำตราประทับหรือการพิมพ์แบบสีเดียว การพิมพ์แบบซิลค์สกรีน การปักผ้า เป็นต้น
5. ออกแบบตราสัญลักษณ์ในขนาดที่เหมาะสม จัดวางลงในกระดาษขนาด A4 (21 x 29.7 ซม.) ในกรณีที่ออกแบบในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้บันทึกเป็นไฟล์ .jpg โหมดสี RGB ความละเอียด 300 dpi
หรือในกรณีวาดด้วยมือลงในกระดาษขนาด A4 ให้สแกนภาพหรือถ่ายภาพเป็นไฟล์ .jpg เพื่อใช้อัปโหลดในเว็บสมัครและส่งผลงานเข้าประกวด

4. การส่งผลงานเข้าประกวด
1. ผู้เข้าประกวดสามารถส่งผลงานได้มากกว่า 1 ผลงาน
2. สมัครและส่งผลงานเข้าประกวด ได้ทาง https://forms.gle/nP1n2Jys9cAPGqjj8 โดยกรอก
ข้อมูลให้ครบถ้วน และอัปโหลดผลงานเป็นไฟล์ .jpg เท่านั้น หากต้องการส่งผลงานมากกว่า 1 ผลงาน จะต้องทำการสมัครและอัปโหลดผลงานใหม่อีกครั้ง
3. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น รวมทั้งไม่เคยส่งเข้าประกวดในการประกวดอื่นใดมาก่อน

5. กำหนดการ
1. สมัครและส่งผลงานทางเว็บไซต์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 – 30 มิถุนายน 2564
2. จัดแถลงข่าว/ชี้แจงโจทย์วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ณ กระทรวงการต่างประเทศ และถ่ายทอดสดออนไลน์ทาง Facebook ของกระทรวงการต่างประเทศ และ NYDAWARDS
3. คณะกรรมการคัดเลือกผลงาน 10 ผลงานเพื่อเข้ารอบคัดเลือก วันที่ 9 กรกฎาคม 2564
4. ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลงานสู่รอบสุดท้าย วันที่ 16
กรกฎาคม 2564
5. คณะกรรมการคัดเลือกผลงาน 5 ผลงานเพื่อเข้ารอบสุดท้าย วันที่ 30 กรกฎาคม 2564
6. คณะกรรมการคัดเลือกนำเสนอ 5 ผลงานต่อคณะกรรมการระดับชาติเพื่อตัดสินรางวัลชนะเลิศ ในเดือนสิงหาคม 2564 โดยผู้ชนะเลิศการประกวดจะต้องปรับปรุงผลงานขั้นสุดท้ายตามข้อคิดเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและคณะกรรมการระดับชาติและส่งมอบตราสัญลักษณ์พร้อมคู่มือการใช้งานให้กระทรวงการต่างประเทศ

6. รางวัล
รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล รางวัลละ 150,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศ 4 รางวัล รางวัลละ 50,000 บาท
รางวัลชมเชย 5 รางวัล รางวัลละ 20,000 บาท

7. เกณฑ์การพิจารณา
1. ความคิดสร้างสรรค์
2. การสื่อความหมาย
3. ความสวยงามตามหลักการออกแบบ
4. ความเหมาะสมในการใช้งาน

8. องค์ประกอบของคณะกรรมการรอบคัดเลือก
1. นักวิชาการด้านการออกแบบ
2. นักออกแบบมืออาชีพ
3. ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. สื่อมวลชน

ติดตามข่าวสารการประกวด หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง
https://www.facebook.com/NYDAWARDS

ขอขอบคุณ สำนักงานศิลปวัฒธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

#การประกวด #ออกแบบตราสัญลักษณ์ #เอเปค #เอเปคของไทย #เจ้าภาพเอเปค #NYDAWARDS
#สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

#Rcacbkk #Rcac #Rcac84 #84rcac #Ratchadamnoencontemporaryartcenter
#หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน


ข่าวสารอื่นๆ

Address

84 Ratchadamnoen Klang Avenue, Bawonniwet
Sub-District, Phra Nakhon District,
Bangkok 10200

84 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

Call Us

Phone. 0 2224 8030 ext. 202
Fax. 0 2224 8031