Facebook Logo

วิฑูรย์ คุณาลังการ

วิฑูรย์

คุณาลังการ

Vitoon Kunalungkarn

รางวัลศิลปาธร : สาขามัณฑนศิลป์

ประวัติศิลปิน

มัณฑนากรผู้สร้างชื่อเสียงมาด้วยความเป็นมืออาชีพชำนาญการ และมีพื้นฐานการศึกษาที่วิทยาลัยช่างศิลป์ตั้งแต่ พ.ศ. 2522-2524จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2529 จึงเริ่มเข้าทำงานที่บริษัท ดีไซน์ 103 จำกัด(Design 103 Co., Ltd.) ในตำแหน่งมัณฑนากร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2537จึงได้จัดตั้งบริษัทเป็นของตนเอง ชื่อ ไอ เอ ดับบลิว จำกัด (IAW Co., Ltd.)และเป็นเจ้าของรางวัลศิลปาธร สาขามัณฑนศิลป์ ในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งในปีนั้นคณะกรรมการได้คัดสรรศิลปินร่วมสมัยที่ทำงานเพื่อชุมชนและสังคม นอกเหนือจากการมีความรู้ความสามารถด้านศิลปะร่วมสมัยเป็นที่ยอมรับในวงการ“โครงการสรรหาศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวัลศิลปาธร ถือเป็นภารกิจหนึ่งของ สศร. มีศิลปินที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติไปแล้วทั้งสิ้น 39 คน และศิลปาธรกิตติคุณ 4 คน ซึ่งศิลปินทุกท่านยังคงสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง สร้างคุณประโยชน์ต่อวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย เป็นกำลังใจและเป็นตัวอย่างอันดีให้กับศิลปินรุ่นใหม่ๆ เดินรอยตาม อีกทั้งตระหนักถึงความสำคัญของรางวัล ศิลปินมีความเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชนทั่วไป เป็นเครื่องแสดงออกถึงคุณภาพและการพัฒนาที่ต่อยอดของศิลปะร่วมสมัยไทย”

นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุลผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ในสมัยนั้น ได้กล่าวไว้เมื่องานพิธีมอบรางวัลศิลปาธร ประจำปี 2553 เนื่องด้วยงานออกแบบด้านสถาปัตยกรรม และตกแต่งภายในของวิฑูรย์ที่มีความโดดเด่นตอบโจทย์ตรงกับกลุ่มเป้าหมายทำให้เขาเป็นสถาปนิกที่มีคุณภาพเห็นได้จากผลงานมากมายที่ได้รับการกล่าวถึงอยู่เสมอ อาทิ เช่น H1 Playground Greyhound Cafés Tenface Serviced Apartment รวมทั้งผลงานทางสังคมอย่างร้านศิลปาชีพ 904 บนถนนสุโขทัย ซึ่งเป็นโครงการที่นำสินค้าคุณภาพที่ผลิตโดยชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบโยคะ ในพระดำริของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ บนพื้นที่ใช้สอยกว่า 1,000 ตารางเมตร ในบรรยากาศสตูดิโอ วิฑูรย์ได้ออกแบบให้พื้นที่ล้อมรอบด้วยสวนสวยตลอดแนวพื้นที่ใช้สอย ผสานกับการตกแต่งภายในที่นำแนวทางของตลาดชุมชนมาดัดแปลง เน้นใช้วัสดุธรรมชาติให้ความรู้สึกผ่อนคลายสำหรับผู้มาเยือนผลงานโดดเด่นในช่วงปี พ.ศ. 2554 ได้เเก่การร่วมออกแบบห้องพักของโรงแรมโซฟีเทล โซแบ็งค็อก โรงแรมไทยเชื้อสายฝรั่งเศสเป็น การออกแบบที่ดึงเอากลิ่นอายของกรุงเทพมหานครและประเทศไทยออกมาโดยใช้หลักของธาตุทั้งสี่คือ ดิน น้ำ ไม้ และโลหะ ซึ่งครั้งนี้วิฑูรย์ได้ออกแบบห้องพักธาตุดินผสมผสานความเป็นธรรมชาติประดับผนังด้วยภาพจิตรกรรมไทยสมัยโบราณของอีสานมาดัดแปลงโดยการเน้นโทนของสีฟ้าให้เกิดมิติที่แปลกตาขึ้นนอกจากนี้วิฑูรย์ยังได้ออกแบบโครงการต่างๆ ในเครือ บริษัทโนเบิลดีเวลลอปเมนท์จำกัด(มหาชน) เช่น Playground! โครงการร้านค้ารูปแบบใหม่

ซึ่งเน้นความสนุกสนานและไอเดียสร้างสรรค์ในการตกแต่งให้ดูราวกับเป็นสนามเด็กเล่นเเละโรงเเรม Tenface ที่มีความโดดเด่น โดยวิฑูรย์ได้เล่าถึงแนวคิดในการออกแบบโรงแรมดังกล่าวไว้ว่า“…เนื่องจากสถานที่ไม่ใหญ่มากและอยู่ในแยกซอยที่ลึกเข้าไป ไม่ติดถนนใหญ่จึงต้องให้มีเอกลักษณ์และบุคลิกน่าสนใจ ซึ่งผมมองไปที่ความเป็นไทยเน้นรูปแบบที่เป็นทั้งสมัยใหม่ สากล และอยู่ในความนิยมลงตัวที่ ‘ไทยกราฟิก’ นำศิลปะการจัดวางเข้ามาเป็นจุดเด่น โดยเลือกความเป็นไทยจากตัวละครในวรรณคดีตัวอักษรไทย และสัตว์ในวรรณคดีแล้วมาคัดให้ได้บุคลิกไทยหรือคลี่คลายเป็นลายเส้นซึ่งลายเส้นเหล่านี้ทำเป็นภาพวาดตกแต่งผนัง พื้น ประตูกระจก

ลิฟต์ ฯลฯ เน้นลีลาที่รวดเร็วมีพลังประกอบด้วยลวดลายอย่างจิตรกรตะวันตกผสมผสานลงในตำนานตะวันออกมีความเหนือจริง เช่น ศิลปะจำพวกเซอร์เรียลิสม์(surrealism) ดึงดูดให้มองดูนานๆ เกิดความรู้สึกแบบห้องแสดงงานศิลปะหรือพิพิธภัณฑ์กลายๆ อยู่ในทุกมุมของโรงแรม อย่างมุมหนึ่งของห้องอาหารจัดเป็นโต๊ะยาวเหมาะกับงานเลี้ยงพื้นที่ไม่ใหญ่มาก แต่แคบด้านหนึ่งเป็นกระจกใส อีกด้านเป็นผนังขาวเราเพิ่มความน่าสนใจด้วยประติมากรรมลวดรูปงูตลอดผนังออกแบบเป็นลายเส้นและให้ศิลปินไปขยายเป็นสามมิติเช่นเดียวกับขดลวดรูปอักษรไทยเราเจาะจงให้ศิลปินจัดปลายลวดคลี่สยายออกไม่ต้องเก็บเรียบ ผมคิดว่าเหมือนทำงานโฆษณา เราหยิบสิ่งใกล้ตัวมาขยายโรงแรมและที่พักควรมีลายเซ็นของตัวเอง มีจุดเด่น ที่ความเป็นไทยๆ โดยรวมผมต้องการให้แขกที่มาพักรู้สึกเป็นกันเอง สบายๆเหมือนมา Member Club หรือบ้านหลังใหญ่…” 1จากประสบการณ์การทำงานในสาขาการออกแบบอันยาวนานทำให้วิฑูรย์ได้เป็นหนึ่งในผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาต่อยอดนักออกแบบรุ่นใหม่อยู่เสมอ เช่น ในปี พ.ศ. 2555 วิฑูรย์ได้เข้าร่วมโครงการ TIDA SALONE2012 ในงานสถาปนิก’55 (หรืออีกชื่อคือ งานอาษา) เป็นโครงการที่นำเสนอ

ความก้าวหน้าของไอเดียและนวัตกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการอยู่อาศัยสมัยใหม่จากแนวคิด “10 Living Space of the Year 2012” โดยในโครงการมีการเชิญมัณฑนากรมาพัฒนาผลงานภายใต้โจทย์ “10 + 10 + 10 + 10 = 1” (10Interior Designers + 10 Designers + 10 Suppliers + 10 Constructers)และครั้งนี้ วิฑูรย์ได้นำเสนอ Bathing Space เป็นการออกแบบที่พัฒนาผลงานร่วมกับบริษัท Bath and Spa Co., Ltd. และ ADED-Interior Co., Ltd.ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์ และผู้รับเหมาที่มีความชำนาญ ทั้งยังถ่ายทอดความรู้สู่สาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจทั่วไปอีกด้วยเห็นได้ว่าจากเส้นทางการทำงานในสาขามัณฑนศิลป์มาเกือบ 30 ปีนั้นวิฑูรย์ได้สร้างสรรค์ประสบการณ์ในการทำงานด้วยแนวความคิดจากโจทย์

หลายอย่าง เช่น การออกเเบบเพื่อตกแต่งภายในพื้นที่ต่างๆ อาทิเช่น ที่อยู่อาศัยอาคารพื้นที่แสดงสินค้า ร้านค้า กลั่นกรองออกมาเป็นความชำนาญที่มีการผสานความคิดและความรู้ทางด้านการออกแบบ การตลาด และศิลปะเข้าด้วยกันโดยผลงานของวิฑูรย์นั้นนอกจากต้องคำนึงถึงความสวยงามในการออกแบบแล้ว ยังนึกถึงความสัมพันธ์ต่อชีวิตมนุษย์ด้วย เพราะฉะนั้นความนึกคิดของวิฑูรย์จึงได้มุมมองที่น่าสนใจหลากหลายมิติ ทั้งในแง่เทคนิค ซึ่งบางเรื่องสามารถนำไปดัดแปลงใช้ในงานด้านอื่นได้ อย่างเช่นแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่หรือโครงสร้าง เป็นต้น อีกทั้ง มุมมองทั่วไปเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่ปรากฏ ก็บ่งบอกถึงวิธีคิดอันลึกซึ้งในระดับมืออาชีพ อย่างไร้ข้อสงสัย

Address

84 Ratchadamnoen Klang Avenue, Bawonniwet
Sub-District, Phra Nakhon District,
Bangkok 10200

84 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

Call Us

Phone. 0 2224 8030 ext. 202
Fax. 0 2224 8031