นิทรรศการ “กระตั้วแทงเสือ” เนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินเดีย
#RcacPR #ประชาสัมพันธ์
#Rcac #ขอเชิญชม
นิทรรศการ “กระตั้วแทงเสือ” เนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินเดีย
จัดโดย
กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ วัฒนธรรมสาธารณรัฐอินเดีย
MINISTRY OF CULTURE KINGDOM OF THIALND
ร่วมกับ
MINISTRY OF CULTURE REPUBLIC OF INDIA
ขอเชิญชม นิทรรศการ “กระตั้วแทงเสือ”
เนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินเดีย
ไทยและอินเดียมีความสัมพันธ์และความผูกพันด้านวัฒนธรรมมาตั้งแต่โบราณกาลกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ปัจจุบันมรดกทางวัฒนธรรมและประเพณีจากอินเดียยังคงมีอิทธิพลสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนไทย ทั้งทางด้านศาสนาพุทธ ภาษา วรรณกรรม ศิลปะแขนงต่างๆ รวมถึงธรรมเนียมปฏิบัติและวัฒนธรรมฮินดูที่ประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังมีความเชื่อมโยงทางความเชื่อและทางวัฒนธรรม โดย “เสือ” หรือ “เสือโคร่ง” นับว่าเป็นหนึ่งในสัตว์ใหญ่ที่เป็น ตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และยังนับได้ว่าเป็นจุดศูนย์กลางของระบบความเชื่อในภูมิภาคเอเชีย อีกทั้งเป็นสัตว์ประจำชาติ ของสาธารณรัฐอินเดียอีกด้วย
การแสดงเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-อินเดีย กับการละเล่นกระตั้วแทงเสือ ซึ่งเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง ที่บูรณาการความรู้หลายๆ ศาสตร์มาสร้าง เป็นศิลปะที่น่าสนใจ เช่น นันทนาการ กีฬา ศิลปะการแสดง นาฏศิลป์ ดนตรี ประยุกต์ และจิตวิทยา โดยใช้ความภาคภูมิใจ ความรัก ความศรัทธา ความกล้า มาสร้างสรรค์ผลงานเพื่อให้เกิดเป็นศิลปะการแสดง ดังนั้น เพื่อเป็นการ เฉลิมฉลองครบรอบ 75 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง ไทยและอินเดีย กระทรวงวัฒนธรรมเล็งเห็นว่าการจัดกิจกรรมการพัฒนา สื่อการแสดงและจัดทำวีดิทัศน์การละเล่นกระตั้วแทงเสือ จะเป็นการสร้างการตระหนักรู้เรื่องการอนุรักษ์เสือผ่านการแสดงทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมในด้านการละเล่นพื้นบ้านอย่างกระตั้วแทงเสือที่เป็นการละเล่นพื้นบ้านของไทยที่ตกทอดเป็นศิลปะอันเก่าแก่ของภาคใต้ที่ กําลังจะถูกกลืนกินไปตามกาลเวลาให้กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งหนึ่ง
กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้พิจารณาแนวทางการจัดกิจกรรม ส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างไทยและอินเดีย เนื่องในโอกาสการลงนามโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ. 2565 – 2570 และเฉลิม ฉลองในโอกาสครบรอบ ๗๕ ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินเดีย ในปี 2505 โดยจะจัดนิทรรศการชั่วคราวเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านกระตั้วแทงเสือและ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและอินเดีย ระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 2565 ถึง 11 มกราคม 2566 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
เนื่องในโอกาสการลงนามร่างโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ. 2565 – 2570 และเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 75 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย อินเดีย ในปี 2565 โดยได้เสนอให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสื่อการแสดงและจัดทำวีดิทัศน์การละเล่นกระตั้วแทงเสือ ซึ่งฝ่ายอินเดียได้ให้ความเห็นชอบ โดยการละเล่นกระตั้วแทงเสือถือเป็นหนึ่งในความร่วมมือของการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินเดียในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์เสือที่ใกล้สูญพันธุ์และการอนุรักษ์ ป่าซึ่งจะมีการจัดนิทรรศการชั่วคราวเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านกระตั้วแทงเสือและความสัมพันธ์ระหว่างไทยและอินเดีย ระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ถึง 11 มกราคม 2566 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน พร้อมทั้งมีพิธีลงนาม ร่างโครงการฯ ผ่านระบบเสมือนจริง ในวันที่ 22 ธันวาคม 2565 เวลา 11.00 น. (เวลาประเทศไทย) และ 09.30 น. (เวลาอินเดีย) ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
ข้อมูลที่มานิทรรศการ
ในปีพุทธศักราช 2565 เป็นปีครบรอบ 75 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-อินเดีย ผนวกกับ “เสือ” นอกจากจะเป็นสัตว์ประจำชาติของอินเดียแล้ว เสือโคร่งยังนับเป็จุดศูนย์กลางของระบบความเชื่อและความศรัทธาในวัฒนธรรมภูมิภาคเอเชียรวมถึงประเทศไทย ขณะที่ในทางชีววิทยา ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในระบบนิเวศ เสือโคร่งยังทำหน้าที่ เสมือนตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าร่วมด้วยจากการผูกโยง “เสือ” เข้ากับความเชื่อ ความศรัทธาหรือให้นิยามความสําคัญในเชิงสัญลักษณ์ นํามาชงรูปแบบความคิดประเพณี ธรรมเนียมของกลุ่มชนที่เกี่ยวข้องกับเสือในหลากหลายวิถีของวัฒนธรรม และ “กระตั้ว แทงเสือ” คือหนึ่งในประเพณีการละเล่นที่บอกเล่าถึงวิถีความเชื่อหนึ่งของคนไทยในอดีตทั้งยังมีนัยทางอัตลักษณ์ร่วมที่คล้ายคลึงกับประเพณีวัฒนธรรมของชาวอินเดีย ในประเด็นของการล่าเสือ ซึ่งเป็นปัจจัยคุกคามหลักที่ทำให้ประชากรเสือลดลงอย่างรวดเร็ว
ในขณะเดียวกัน สถานการณ์ของ “การละเล่นกระตั้วแทงเสือ” ในปัจจุบันพบว่ากำลังได้รับผลกระทบจากพลวัตทางสังคม ด้วยความหลากหลายของกลุ่มวัฒนธรรมในพื้นที่ และปัจจัยร่วมทางค่านิยม เศรษฐกิจ ทำให้การละเล่นพื้นบ้านไทยซึ่งเป็นม่านสะท้อนวิถีชีวิตความเชื่อ และอัตลักษณ์ของท้องถิ่นนี้ กำลังเลือนหายไป และไร้ผู้สืบทอดจึงเป็นสาระสำคัญอันนำมาซึ่งการสร้างสรรค์ “กระตั้วแทงเสือรูปแบบใหม่ ในการนี้ เพื่อเป็นการร่วมสร้างกุศโลบายในการอนุรักษ์เสือ รวมถึงเพื่อให้ผืนป่าได้ดำรงอยู่ต่อไปเป็นประการหนึ่งและเพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ในบริบทสังคมปัจจุบันอีกประการหนึ่ง
ข้อมูลส่วนของนิทรรศการ
- กระตั้วแทงเสือ 2565 คือการผสมผสานระหว่างเก่า-ใหม่ อิงวัฒนธรรมอันเป็นกระแสนิยมในปัจจุบันอย่าง “วัฒนธรรม สตรีท” เพื่อโน้มนำศิลปะการแสดงพื้นบ้านกระตั้วแทงเสือให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างทั้งกลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สืบสานศิลปะการแสดง และกลุ่มบุคคลนอกพื้นที่ ผู้จะมีส่วนร่วมในการผลักดันให้กระตั้วแทงเสือคงอยู่ในบริบทสังคมปัจจุบันได้ผ่านการสนับสนุน และการรับรู้
วันที่ 22 ธันวาคม 2565 – 11 มกราคม 2566
เวลา 10.00 – 17.00 น.
ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
(ปิดทำการทุกวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เปิดเข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
The 75th Anniversary
of the Diplomatic Relations between
Thailand-India
TIGER HUNTING 2022 EXHIBITION
In celebration of the 75th Anniversary
of the Establishment of Diplomatic
Relations between the Kingdom of
Thailand and the Republic of India
22 DEC 2022 – 11 JAN 2023
10.00 am – 7.00 pm
at Ratchadamnoen Contemporary Art Center
(Closed on Mondays and public holidays)
#rcacbkk#rcac#rcac84#ratchadamnoencontemporaryartcenter#หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
ติดตาม #Rcac หอศิลป์ร่วมศิลป์ร่วมสมัยราชดําเนิน
ช่องทางอื่นๆ ได้ที่ :
Website : www.rcac84.com
Facebook : https://www.facebook.com/rcac84
Instagram : https://www.instagram.com/84rcac
RCAC Map : https://goo.gl/maps/epmyyLvbos3RmwBs7
#Rcacbkk#RcacPR#Rcac84#84rcac#Rcac#Ratchadamnoencontemporaryartcenter
22 ธ.ค. 65 - 11 ม.ค. 66
ชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน