ขอเชิญชมนิทรรศการ “ภาพเก่าเล่าเรื่อง กรุงรัตนโกสินทร์” ภายใต้งาน “ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์”
#RcacPR #ประชาสัมพันธ์
#Rcac #ขอเชิญชม
ภูมิใจนำเสนอ โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
นำมาจัดแสดง เพื่อให้เราเห็นภาพบ้านเมืองในสมัยยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รำลึกถึงช่วงเวลาต่างๆ ตลอดจนเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ วัดวาอาราม เส้นทางคมนาคม ขนบประเพณี การแต่งกาย การละเล่น และอีกมากมายที่เป็นภาพหาดูยาก และหากจะนำเสนอให้ครบทั้ง 100 ภาพ
สามารถเข้าชมได้ ฟรี!!! (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ณ พื้นที่นิทรรศการ ชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น.
จัดแสดงถึงวันที่ 24 เมษายน 2565 นี้ เท่านั้น!
โดยจัดแสดงอยู่ใน โซน 4 “เยาวชนสรรสร้างงานศิลป์” ภายใน พื้นที่นิทรรศการ ชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
“เครื่องแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์”
“ภาพถ่าย” เป็นหลักฐานสำคัญอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะวัฒนธรรมการแต่งกายและทรงผมของคนไทย ซึ่งมีพัฒนาการแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย ซึ่งแอดมินขออนุญาตนำภาพบางส่วนจาก นิทรรศการ “ภาพเก่าเล่าเรื่อง กรุงรัตนโกสินทร์”กิจกรรมดีๆ ภายใต้งาน“ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” ที่จัดแสดงอยู่ในโซน “เยาวชนสรรสร้างงานศิลป์” ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ นำมาจัดแสดงให้ชม
โดยภาพถ่ายบางส่วนเป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับการแต่งกายของคนไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่บันทึกไว้ในวาระที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังพบว่ามีข้อมูลเผยแพร่ทางเว็บไซต์ต่างๆ ที่น่าสนใจสอดคล้องกับภาพถ่ายที่นำมาจัดแสดง โดยระบุว่าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 1-3 ราวปี พ.ศ. 2325 – 2394 คนไทยนิยมไว้ผมปีกประบ่ากันไรผม วงหน้าโค้ง ส่วนบนกระหม่อมกันไร ผมเป็นหย่อมวงกลมแบ่งผมออกดูคล้ายปีกนก จึงเรียก “ผมปีก” แต่ไม่ยาวเท่าสมัยอยุธยา บ้างก็ปล่อยจอนข้างหูยาวแล้ว ยกขึ้นทัดไว้ที่หู เรียกว่า “จอนหู” ส่วนเด็กเล็ก นิยมไว้ผมจุก การแต่งกาย นุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสมัยอยุธยา ชาวบ้านนุ่งผ้าถุง หรือโจงกระเบน สวมเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ห่มตะเบงมาน หรือผ้าแถบคาดรัดอก และห่มสไบ เฉียงทับ ชาย ทรงผม ยังคงไว้แบบเดียวกับสมัยอยุธยา คือ ทรงมหาดไทย ชาวบ้านเรียกว่า “ทรงหลักแจว” การแต่งกาย นุ่งผ้าม่วง โจงกระเบน สวมเสื้อเป็นแบบเสื้อนอกคอเปิด ผ่าอก แขนยาว กระดุม 5 เม็ด ชาวบ้านจะไม่สวมเสื้อ หรือพาดผ้า การแต่งกายของชาววังและชาวบ้านจะแตกต่างกันตรงเนื้อผ้าที่สวมใส่ ซึ่งหากเป็นชาววังแล้วจะห่มผ้าไหมอย่างดี ทอเนื้อละเอียด เล่นลวดลาย สอดดิ้นเงิน-ทอง แต่ชาวบ้านทั่วไปนิยมนุ่งผ้าพื้นเมือง หรือผ้าลายเนื้อเรียบ ๆ สำหรับเกษตรกร ทำไร่ ทำนา นิยมนุ่งผ้าในลักษณะถกเขมร เป็นการนุ่งโจงกระเบนแต่จะถกสั้นขึ้นเหนือเข่า เพื่อความสะดวก ไม่สวมเสื้อ หากอยู่บ้านจะนุ่งผ้าลอยชาย หรือโสร่งมีผ้าคาดพุง หากไปงานเทศกาลต่าง ๆ นิยมนุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าแพรหลากสี ห่มผ้าคล้องคอปล่อยชายทั้งสองยาวไว้ด้านหน้า การตัดผมของสตรีสาวจะตัดผมทรงดอกกระทุ่ม ปล่อยท้ายทอยยาวถึงบ่า หากเป็นผู้ใหญ่แล้วจะตัดผมปีกแบบโกนท้ายทอยสั้น โดยรวมลักษณะการแต่งกายของคนสามัญไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงจนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เป็นยุคสมัยที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครื่องการแต่งกาย เพื่อให้มีความทันสมัย เนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจการค้าและศิลปวัฒนธรรม กับต่างประเทศมากขึ้น และนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๐ มาจนถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ส่งผลให้รัฐบาลในยุคสมัยนั้นๆความสำคัญต่อการ “ปฏิวัติวัฒนธรรม” เห็นได้จากประกาศกฎหมายหลายฉบับ ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย “ตามแบบสากลนิยม” และ “ประเพณีนิยม” โดยกำหนดการแต่งกายและทรงผมแบบใหม่ของสตรีทุกคนเป็นการไว้ผมยาว เลิกใช้ผ้าโจงกระเบนเปลี่ยนเป็นนุ่งผ้าถุงแทน การแต่งกายของข้าราชการนิยมแต่งแบบสุภาพ และปรับเปลี่ยนการแต่งกายให้เข้ากับยุคสมัยตามแบบสากลนิยมจนถึงปัจจุบัน
#ร่วมสมัยนำมาเล่า เฟซบุ๊ก สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
ขอขอบคุณ
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
ติดตาม #Rcac หอศิลป์ร่วมศิลป์ร่วมสมัยราชดําเนิน
ช่องทางอื่นๆ ได้ที่ :
Website : www.rcac84.com
Facebook : https://www.facebook.com/rcac84
Instagram : https://www.instagram.com/84rcac
RCAC Map : https://goo.gl/maps/epmyyLvbos3RmwBs7
#Rcacbkk #Rcac84 #84rcac #Ratchadamnoencontemporaryartcenter #หอศิลป์ร่วมสมัยราชดําเนิน
20 เม.ย. 65 - 24 เม.ย. 65
พื้นที่นิทรรศการ ชั้น 1 ภายในงาน "ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์" (โซน 4 “เยาวชนสรรสร้างงานศิลป์”) หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน