Facebook Logo

กุลภัทร ยันตรศาสตร์

กุลภัทร

ยันตรศาสตร์

Kulapat Yantrasast

รางวัลศิลปาธร : สาขาการออกแบบเชิงสร้างสรรค์

ประวัติศิลปิน

กุลภัทร ยันตรศาสตร์ เกิดที่กรุงเทพฯ หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลญี่ปุ่น ให้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก ที่ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว และในปี พ.ศ. 2539 (1996) เมื่อ Tadao Ando เดินทางมาบรรยายที่กรุงเทพฯ หลังการบรรยาย Tadao Ando และกุลภัทร ได้มีโอกาสพูดคุยกัน Ando จึงได้ชักชวนกุลภัทรมาร่วมกันทำงานประกวดออกแบบระดับนานาชาติ ในโครงการพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ the Modern Art Museumof Fort Worth ที่รัฐเท็กซัส ซึ่งสำนักงานสถาปนิก Tadao Ando ชนะการประกวดออกแบบในที่สุด ทำให้กุลภัทรทำงานต่อเนื่องเป็นผู้ช่วยให้กับ Tadao Ando รวมถึงหน้าที่สถาปนิกโครงการในงานออกแบบอีกหลายโครงการตามที่ต่างๆ ทั่วโลกยาวนานถึง 7 ปี ไม่ว่าจะเป็น งานปรับปรุงอาคารให้ Armani ที่มิลาน ประเทศอิตาลี ในปี พ.ศ. 2544 (2001) โครงการสถาบันศิลปะ Fondation Francois Pinault pour l’Art Contemporain ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2546 (2001–2003) โครงการ the Clark Art Institute ที่รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2557 (2001-2014) ในปี พ.ศ. 2546 (2003) กุลภัทรได้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบของตนร่วมกับเพื่อนในนาม wHY Architecture แต่ในขณะเดียวกัน ทางสำนักงานสถาปนิกของกุลภัทรเองก็ยังคงทำหน้าที่คอยช่วยเหลือประสานงานและดูแลงานก่อสร้างที่ต่อเนื่องในสหรัฐอเมริกาให้กับสำนักงานสถาปนิก Tadao Ando อีกด้วยกุลภัทรเริ่มทำงานออกแบบชิ้นแรกของเขา Casa Wakasa ซึ่งเป็นบ้านของนักสะสมศิลปะชาวญี่ปุ่น ที่เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น งานออกแบบชิ้นนี้เป็นงานออกแบบที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลทางภาษาสถาปัตยกรรมจาก Ando แต่ในขณะเดียวกัน กุลภัทรก็นำเสนอแนวความคิดทางสถาปัตยกรรมของตัวเขาเอง โดยการออกแบบผังอาคารของตัวบ้านให้มีลักษณะเปิดเลื่อนไหลโปร่งโล่งและเชื่อมต่อกับพื้นที่ภายนอก ซึ่งต่างจากงานออกแบบบ้านของ Ando ที่โดยมากผังอาคารจะปิดล้อมและตัดขาดตัวเองจากสภาพแวดล้อมโดยรอบเพื่อสร้างสภาวะสงบขึ้นภายในผลงานออกแบบอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ชิ้นสำคัญ ภายหลังการก่อตั้งสำนักงานของตัวเอง ก็คือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Grand Rapids Art Museum ที่รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2550 (2007) และเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ก่อสร้างใหม่แห่งแรกของโลกที่ได้รับมาตรฐานจาก LEED และที่สำคัญ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้ยังเปิดพื้นที่หลายส่วนให้เชื่อมต่อกับพื้นที่ส่วนต่างๆของเมือง ไม่ว่าจะลานและโถงบันไดขนาดใหญ่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ รวมไปถึงส่วนนั่งพักผ่อนบริเวณชั้นสองที่ทำให้สามารถมองเห็นเมืองได้อย่างชัดเจนในมุมกว้างเนื่องด้วยประสบการณ์การทำงานของกุลภัทรที่สั่งสมมาอย่างยาวนานในงานออกแบบทางด้านพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ทำให้เขามีโอกาสได้รับงานออกแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปะสำคัญอีกหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการวางผังและปรับปรุงส่วนแสดง งานนิทรรศการของสถาบันศิลปะเก่าแก่อย่าง The Art Institute of Chicago ในส่วนของห้องแสดงงานศิลปะตกแต่งของยุโรป ศิลปะญี่ปุ่นอินเดีย ศิลปะกรีกและโรมัน และในปี พ.ศ. 2552 (2009) ทางสำนักงานสถาปนิกของกุลภัทร ได้รับเลือกให้ออกแบบส่วนขยายต่อเติมของ Speed Art Museum ที่เมืองหลุยส์วิลล์ รัฐแคนตั้กกี้ ซึ่งกุลภัทรได้เสนอแนวคิดเรื่อง การฝังเข็มให้กับงานสถาปัตยกรรม โดยใช้วิธีการปรับปรุงจัดระเบียบพื้นที่ทางสัญจรภายในอาคารและส่วนแสดงงานของอาคารเก่าให้ประสานเข้ากับอาคารใหม่ให้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งตอนนี้ตัวพิพิธภัณฑ์ศิลปะ Speed Art Museum ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างและมีกำหนดการแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2559 (2016)นอกเหนือไปจากงานออกแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปะและอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ กุลภัทรยังทำงานออกแบบสถาปัตยกรรมเชิงทดลองขนาดเล็กที่น่าสนใจอีกหลายชิ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการ Art Bridge ที่เมืองลอสแอนเจลิสรัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี พ.ศ. 2550 (2007) ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำแอลเอ กุลภัทรได้เสนอแนวคิดให้นำเอาขยะและสิ่งของต่างๆ ที่เก็บได้จากแม่น้ำ ไม่ว่าจะเป็นเศษกระป๋อง ยางรถยนต์ ขวดแก้ว เศษเหล็ก มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวัสดุก่อสร้างโดยเทผสมรวมกับคอนกรีตที่ใช้สร้างผนังและหลังคาให้กับตัวสะพาน ไม่เพียงแต่จะเป็นการรีไซเคิลเศษวัสดุเหล่านี้โดยการนำกลับใช้ใหม่ เศษวัสดุเหล่านี้ยังได้กลายเป็นประจักษ์พยานให้เห็นว่ามีอะไรถูกทิ้งลงไปในแม่น้ำบ้าง เพื่อจะได้กระตุ้นเตือนผู้คนให้กลับมาตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมในเมืองที่ตนเองอาศัยอยู่ให้มากขึ้น

เมื่อได้เห็นงานสถาปัตยกรรมชิ้นนี้ในปัจจุบันทางสำนักงานสถาปนิกของกุลภัทรยังคงมีงานออกแบบสถาปัตยกรรมเข้ามาอย่างต่อเนื่องจากทั่วทุกมุมโลก ไล่เรียงตั้งแต่งานสถาปัตยกรรมสเกลขนาดเล็กอย่างบ้าน เรื่อยไปจนถึงโครงการขนาดใหญ่อย่างเช่น โครงการสตูดิโอศิลปะ Pomona College Studio Art Hall ที่เมืองแคลร์มอนท์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จ พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และหอสมุดอเล็กซานเดรียแห่งประเทศอียิปต์ รวมไปถึงการเข้าร่วมโครงการประกวดแบบในระดับนานาชาติ อย่างเช่น โครงการประกวดแบบพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ฮังการี ในปี พ.ศ. 2557 (2014) เป็นต้น

Address

84 Ratchadamnoen Klang Avenue, Bawonniwet
Sub-District, Phra Nakhon District,
Bangkok 10200

84 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

Call Us

Phone. 0 2224 8030 ext. 202
Fax. 0 2224 8031